ฟินแลนด์ ธรรมดาที่ไม่ธรรมดา
วันนี้ได้อ่านบทความดี ๆ จากคุณนิโคลา เลยขออนุญาตเอามาเก็บไว้ที่นี่
เผื่อใครไม่เคยได้ผ่านเข้าไปบอร์ด สพฐ. เลย ....
เรื่องราวการเรียนธรรมดา ที่ไม่ธรรมดาของคนฟินแลนด์
เรื่องนี้มันดีและคิดว่า สำคัญ ก็เลยเอามาเล่ากันฟัง
บทความนี้ เรียบเรียงจาก เรื่องที่ปรากฎในหนังสือพิมพ์ The Wall Street Journal ( หนังสือพิมพ์ธุรกิจของสหรัฐ) วันที่ 29 กพ 2008.
( ใครสนใจจะอ่าน ฉบับดั้งเดิม ไปดูได้ที่
http://online.wsj.com/article/SB120425355065601997.html?mod=ONLX
"ทำไมเด็กชาวฟินแลนด์ ถึงได้ฉลาด ( หรือจะแปลว่า 'เก่ง') นัก" ( What makes Finnish Kids SO SMART? )
พบว่า นักเรียนวัยสิบห้า จากฟินแลนด์ ทำข้อสอบมาตรฐาน ซึ่งได้ทดสอบกับเด็กจาก 57 ประเทศ ได้คะแนนสูงที่สุด ทั้งๆที่ในบทความกล่าวว่า เด็กนักเรียนในฟินแลนด์มีการบ้านที่ต้องทำนานเกินครึ่งชั่วโมงน้อยมาก ไม่มีการแบ่งห้องเด็กเก่ง หรือไม่เก่ง ไม่แบ่งห้องคิงส์ ไม่มีการข้อสอบวัดมาตรฐาน( standardized testing ) ตามระดับชั้นต่างๆ ไม่มีการจัดว่าใครได้ที่หนึ่งในชั้น ( Valedictorian) และพ่อแม่ผู้ปกครองในฟินแลนด์ก็ไม่ตื่นเต้นเรื่องลูกจะเข้ามหาวิทยาลัย ( จะเล่าภายหลังว่าทำไมเป็นเช่นนั้น)
ในขณะที่นักเรียนอเมริกันซึ่งโดนอัดด้วย การบ้าน การสอบเทียบมาตรฐาน และกฎเกณฆ์ต่างๆ ทำได้แค่ C เท่านั้น ( กล่าวคืออยู่ตรงกลาง ของนักเรียนจาก 57 ประเทศ )
อย่างไรก็ดี เด็กวัยรุ่นฟินแลนด์ ก็เหมือนเด็กอเมริกัน คือ วันๆ ก็เสียเวลาเป็นชั่วโมงกับ Online ย้อมผม ชอบพูดจาแบบย้อน( sarcasm ) ฟังเพลงประเภท rap และ heavy metal เช่นกัน แต่เมื่อมาถึงเรื่อง คณิต วิทย์ และการอ่านแล้ว เด็กฟินแลนด์ไปไกลว่าชาวบ้านหลายๆขุม ความสามารถแบบนี้ จะเป็นสิ่งสำคัญในการที่จะเป็นพลเมืองที่มีคุณภาพที่ดีและมีประสิทธิภาพในการทำงานที่สุดในโลก ( productive workers )
การทดสอบที่ว่านี้ จัดขึ้นโดยองค์กรที่ชื่อ Organization for Economic Cooperation and Development ( OECD). ซึ่งได้รับการช่วยเหลือดูแลจาก 34 ประเทศ เพื่อดูความโน้มน้าว ก้าวหน้า ในเรื่องสังคมและเศรษฐกิจ ยกตัวอย่างในการทดสอบครั้งล่าสุด ได้เน้นเรื่องวิทยาศาสตร์ ซึ่ง เด็กฟินแลนด์ ทำได้ดีที่สุด ส่วนคณิตศาสตร์และการอ่าน ( Math and Reading ) นั้น ได้คะแนนเกือบสูงสุด การสอบทั้งสามวิชาซึ่งจัดทำโดย OECD นี้ เขาเรียกว่า "Program for International Student Assessment" หรือเรียกย่อๆ ว่า PISA โดยทดสอบเด็กจำนวนทั้งสิ้น 4 แสนคน คำถามจะเป็น multiple-choice questions และมีคำถามให้บรรยายเช่นกัน คำถามเป็นให้ คิด ออกความเห็น รวมทั้งเอาความรู้มาใช้ ( critical thinking and application of knowledge ) ยกตัวอย่างว่า ให้ออกความเห็นว่า การเขียนหรือวาดรูป ( graffitti ) บนฝาผนังในที่สาธารณะนั้นมีคุณค่าในทางศิลป์ อย่างไรบ้าง ( Discuss the artistic value of grafitti )
SCIENCE
======
Findlang ===== 563
Hong Kong ====542
Canada ===== 534
Taiwan ======532
Estonia ======531
Japan =======531
New Zealand == 530
Australia =====527
Netherlands ===525
Liechtenstein===522
US =========489
จากผลงานของเด็กฟินแลนด์ นี้ ทำให้นักการศึกษาจาก 50 ประเทศรวมทั้งจากประเทศอเมริกา เข้ามาศึกษาดูว่าเขาทำอย่างไร ( นักการศึกษาไทย หากคิดจะไปเที่ยว บอกได้ว่า ประเทศฟินแลนด์ ไม่มีอะไร น่าเที่ยวเลย เป็นเมืองเก่าๆ และเล็ก บ้านเรามีที่เที่ยวมากกว่าแยะมาก)
พบว่าวิธีการของเขาธรรมดามาก แต่ทำเลียนแบบยาก พบว่า ครูได้รับการฝึกฝนในการสอนอย่างดี และรับผิดชอบต่อเด็กสูง เร่มจากตอนเด็กยังเล็ก จะให้ทำสิ่งต่างๆ โดยที่ผู้ใหญ่( adult ในที่นี้คิดว่า ครูในห้อง -ผู้เรียบเรียง) ไม่ต้องคอยเป็นพี่เลี้ยงตลอดเวลา ครูจะจัดหลักสูตรให้เขากับเด็กที่เขาสอนในห้อง
ผอ โรงเรียนที่จัดทำโครงการสอน ( เข้าใจว่าน่าจะตรงกับบ้านเราคือ รร สาธิต ) กล่าวว่า "เราไม่มีน้ำมัน หรือทรัพยากรที่มีค่าอื่นๆ " แต่ ชาวฟินแลนด์จะมีความรู้ ( KNOWLEDGE )
ที่ รร ที่ว่านี้ คือ Norssi School ในเมือง Jyvaskyla ซึ่งเป็นเมืองที่อยู่ตอนกลางของประเทศ นักการศึกษาหรือผู้เยียมชม สามารถเข้าไปดูการสอนได้ โรงเรียนเป็นโรงเรียนที่ทันสมัย แต่ไม่มีวงดนตรี หรือวงดุริยางค์ ไม่มีทีมกิฬา หรืองานตอนจบการศึกษา ( prom )
ผู้เขียนได้ไปติดตามเด็กหญิงอายุ 15 ปี หนึ่งคน พบว่าหลักสูตรก็ธรรมดา เด็กคนนี้อยู่ชั้น 9 ( ตรงกับ ม 3 ของเรา ) ชอบอ่านหนังสือที่พวกเด็กหญิงอ่าน ชอบดูรายการทีวี และชอบออกไปซื้อเสื้อผ้ากับเพือนในห้างร้าน เด็กคนนี้ สอบได้ A หมด ในบางเวลาก็ใช้เวลาเขียนลงสมุดบันทึกของตนเอง ในขณะที่รอเด็กคนอื่นพยายามเรียนให้ทันตนเอง ในบางครั้งก็จะช่วยเพื่อนในห้องที่ตามคนอื่นไม่ทัน นักการศึกษาของฟินแลนด์เชื่อว่า โดยทางรวมแล้ว การมุ่งไปช่วยคนที่เรียนช้าจะมีผลดีต่อส่วนรวมมากกว่าที่จะพยายามจะไปผลักดันให้เด็กเก่งๆไปเร็ว เพราะคิดว่า เด็กเก่งหรือฉลาดสามารถช่วยคนอื่นได้ โดยที่ไม่ทำให้งานตนเองต้องเสียหรือช้าไป
ตอนเที่ยงเด็กคนนี้ก็สามารถออกไปซื้อขนมนอกโรงเรียนกับเพื่อนได้ แล้วกลับมาเรียนฟิสิคส์ตอนบ่ายได้ ห้องเรียนจะเริ่ม เมื่อทุกคนพร้อม เงียบ ครูและนักเรียนใช้เรียกชื่อโดยใช้ชื่อต้น ( ตะวันตกใช้เรียกโดยนามสกุล นอกจากจะสนิทสนมถึงจะใช้ชื่อต้น) มีกฎที่ใช้ในห้องเรียนอยู่อย่างเดียวคือ ห้ามใช้โทรศัพย์มือถือ ห้ามใช้ iPods และห้ามใส่หมวกในห้อง
เพื่อนๆของเด็กคนนี้บางคนก็ย้อมผมบ้าง บางคนก็ใส่เสื้อแบบ tank top ( เดาว่าน่าจะตรงกับสายเดี่ยวในบ้านเรา-ผู้เรียบเรียง) หรือรองเท้าที่มีหนามแหลมตรงส้น เพื่อให้ดูเหี้ยมในฤดูหนาว บางคนก็ใช้ tanning lotion ( ทาให้ผิวเปลี่ยนเป็นสีเข้ม ) เด็กๆก็แยกตามกลุ่มของแฟชั่นบ้าง ความสนใจหรือความชอบบ้าง เช่น hip-hop หากไปถามเด็กพวกนี้ แบบไม่เข้าท่า ก็จะถูกย้อนกับมาว่า "check it on Google, you idiot" ( ก็ไปค้นใน Googleเสียซิ ไอ้งั่ง ) พวกเด็กวัยรุ่นฟินแลนด์ก็เข้าไปมั่วใน online chat เช่นใน irc-galleria.net
รร Narssi นี้ดำเนินงานเหมือน โรงพยาบาลมหาวิทยาลัย คือ นอกจากรักษาคนใข้แล้ว เขายังสอนแพทย์ประจำบ้าน รร นี้ ก็เช่นกันแต่ละปีจะมีครูมาเข้าฝึกอบรมการสอน ราว 800 คน ผู้เข้าอบรมจะได้รับการประเมินขณะที่ทำการสอนเด็กจากผู้ฝึก ครูผู้เข้ามาฝึกต้องจบ ป โท และ มีผุ้ต้องการเข้ามาฝึกเป็นอันมาก ต้องแข่งกัน เพราะ ทุกๆตำแหน่งที่เปิดรับ จะมีผู้สมัครราว 40 คน เงินเดือนก็สูสีกับทางสหรัฐ แต่ครูที่ฟินแลนด์มีอิสระในการสอนมากกว่า
ครูจะเลือกหนังสือหรือตำราเอง แต่ต้องให้เข้ากับมาตรฐานของชาติ "ในประเทศต่างๆ ครูรู้สึกว่า การศึกษาเหมือนกับโรงงานผลิตรถยนต์ แต่ในฟินแลนด์บรรดาครูคิดว่า เขาเป็นนักเซ็งลี้ ( Entrepreneurs) คือ ผลิดของใช้ที่ดีและเข้ามาตรฐาน
Math
====
Taiwan =====549
Finland =====548
Hong Kong ===547
South Korea===547
Netherlands===531
Switzerland===530
Canada =====527
Macao======525
Liechtenstein==525
Japan=======523
US=========474
สาเหตุอันหนึ่งที่ทำให้เด็กฟินแลนด์ประสพความสำเร็จก็คือการรักการอ่าน พ่อแม่ของเด็กเกิดใหม่จะได้รับของขวัญจากรัฐ รวมทั้งหนังสือที่เป็นรูปสำหรับเด็กด้วย ห้องสมุดบางแห่งอยู่ติดกับมอลล์ใหญ่เลย และจะมีห้องสมุดเคลื่อนที่ได้ ซึ่งจะเดินทางออกไปไกลเพื่อบริการประชาชนด้วย
เนื่องจากฟินแลนด์ไม่ได้ใช้ภาษาร่วมกับประเทศไกล้เคียง และแม้หนังสือที่ดีต่างๆก็จะได้รับการแปลค่อนข้างล่าช้า ฉนั้นเด็กชาวฟินแลนด์ ยกตัวอย่างจะพยายามดิ้นรน ขวนขวายพยายาม อ่านฉบับภาษาอังกฤษว่า Harry Potter จบด้วยอย่างไร เพราะกลัวว่า จะรู้เรื่องตอนจบ ก่อนฉบับภาษาฟินแลนด์จะออกตีพิมพ์ ภาพยนต์หรือทีวี จะมีคำบรรยาย แต่จะไม่มีแปลหรือพากษ์ ผลทำให้นักศึกษามหาวิทยาลัยคนหนึ่งบอกว่า ทำให้เขาอ่านได้เร็วมากตั้งแต่เด็กเลยเพราะชอบดูรายการทีวีเรื่องหนึ่งที่มีแต่คำบรรยาย
เมื่อเดือนตุลาคมที่แล้ว นักการศึกษาจากสหรัฐเดินทางไปเพื่อศึกษาว่า ทางฟินแลนด์ใช้เทคโนโลยีในการสอนอย่างไร พบว่า ครูที่นั่นใช้แค่กระดานและชอล์คเท่านั้น ไม่ได้ใช้อะไรที่ทันสมัย บทเรียนก็ใช้ส่องจากหน้าสมุดหรือหนังสือ ขึ้นบนจอ ไม่ได้ใช้ powerpoint หรืออะไรทั้งสิ้น ผู้ที่ไปศึกษาทึ่งในวิธีการสอน มากกว่าการใช้เทคโนโลยี ( เขาไม่ได้ใช้เลย) ก็เลยงงว่า "แล้วจะเอาไปใช้ทีอเมริกาอย่างไร"
มีนักเรียนชาวฟินแลนด์คนหนี่งเห็นความแตกต่างของระบบการเรียนการสอน ระหว่างของฟินแลนด์กับอเมริกาเป็นอย่างดีเลย เพราะเด็กคนนี้ได้ทุนเป็นนักเรียนแลกเปลี่ยน ไปเรียนที่แถว Michigan ซึ่งพบว่าที่ รร นี้มีกฎเข้มงวด แต่ไม่ได้ออกมาว่า รร จะมีหลักสูตรที่กระดูกหรือหิน หรือมีนักเรียนที่เข้มหรือเก่งเลย เมื่อเขาถามนักเรียนอเมริกันว่า "ทำการบ้านหรือเปล่า เมื่อคืนนี้" ก็ได้คำตอบวา "ไม่ได้ทำหรอก แล้วเธอละทำอะไร เมื่อคืนนี้" นักเรียนชาวฟินแลนด์เล่าถึงความจำที่เคยเจอมาให้ฟัง ที่ รร นี้ คำถามของบทเรียนประวัติศาสตร์มักเป็นแบบปรนัย ดังนั้นจึงไม่มีโอกาสได้เขียนหรือบรรยาย ดังนั้นเมือเด็กฟินน์คนนี้กลับไป ทางรรจึงให้ซ้ำชั้น ม 6 อีกครั้ง
READING
======
Korea =====556
Finland=====547
Hong Kong===536
Canada=====527
New Zealand==521
Ireland======517
Australia=====513
Leichtenstein==510
Poland======508
Sweden=====507
US ไม่มีข้อมูล
ดูเหมือนว่าวิธีการสอนของฟินแลนด์จะง่าย แต่...นักวิชาการอเมริกันคิดว่าจะเอาไปใช้ในอเมริกาคงยาก เพราะในฟินแลนด์นั้นประชากรเป็นชนเชื้อชาติเดียวกันมีนักเรียนที่ไม่ใช้ภาษาฟินน์เป็นภาษาแม่น้อยมาก ในสหรัฐ 8 เปอร์เซ็นต์ของนักเรียนที่ไม่ใช้ภาษาอังกฤษเป็นภาษาแม่ ( จากสถิติของกระทรวงศึกษาสหรัฐ) ยิ่งกว่านั้น ความแตกต่างในระดับการศึกษาและรายได้ของประชากรของฟินแลนด์ก็น้อย ประเทศฟินน์แลนด์จะแยกเด็กออก ในช่วงสามปีสุดท้ายของระดับมัธยมโดยอาศัยคะแนน กล่าวคือ 53 % ของนักเรียนไปเรียนต่อจนจบ ม 6 ส่วนที่เหลือไปเรียนวิชาชีพ ( นักเรียนอายุ 15 ปีทุกคน ต้องสอบ PISA ) ประเทศฟินน์แลนด์มีอัตราที่เด็กนักเรียนไม่เรียน (drop out-ออกจาก รร ) ประมาณ 4 % ใน รร มัธยม และ10 % ในโรงเรียนวิชาชีพ ซึ่งในสหรัฐมีถึง 25 %
ความแตกต่างอีกอย่างคืองบประมาณที่ใช้ในการศึกษา ในสหรัฐ ใช้เงินประมาณ $8700 ต่อนักเรียนหนึ่งคน แต่ของฟินน์แลนด์ใช้เพียง $7500 ต่อคน ซึ่งอาศัยเงินจากภาษีที่เก็บในอัตราที่สูงมาก ดังนั้นทุกโรงเรียนในฟินน์แลนด์จึงได้งบจากรัฐบาลเท่ากัน ในขณะที่ในสหรัฐนั้น ขึ้นกับภาษีท้องถิ่นและรัฐ ที่ใหนมีฐานะดี ภาษี ( คล้าย VAT บ้านเรา)เข้ามามาก โรงเรียนก็ได้เงินสนับสนุนจากท้องถิ่นแยะ ที่ใหนจน สภาพโรงเรียนก็แปรตามไปเช่นกัน ดังนั้น ความแตกต่างของคุณภาพของโรงเรียนในถิ่นต่างๆ ในฟินน์แลนด์นั้นน้อย โดยดูจาก PISA ในขณะทีผลที่ได้ของสหรัฐนั้นออกมาระดับกลางเท่านั้น ( แม้จะค่าถัวเฉลี่ยจะจ่ายให้นักเรียนต่อคน จะสูงกว่า)
อีกประการนักเรียนของฟินน์แลนด์มีความห่วงเรื่องเข้าเรียนต่อในมหาวิทยาลัยที่ดีที่สุด หรือเรื่องค่าใช้จ่ายน้อย เพราะค่าเล่าเรียนระดับมหาวิทยาลัยนั้น "ฟรี" ส่วนเรื่องการเลือกมหาวิทยาลัยดีเด่นนั้น เขาก็มีที่ดี แต่ไม่เด่นมากอย่างเช่นอย่างมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ดในสหรัฐ เมื่อไม่มีความกดดันเรื่องการเข้าเรียนหรือห่วงเรื่องค่าใช้จ่าย ทำให้นักเรียนเรียนอย่างสบาย ไม่มีความกดดัน ในขณะที่ในสหรัฐนั้น พ่อแม่ผู้ปกครองเริ่มห่วงเรื่องจะหาที่เข้าเรียน ตั้งแต่ระดับ รร อนุบาล ส่วนนักเรียนในฟินน์แลนด์เริ่มเข้าเรียนตั้งแต่อายุ 7 ขวบ ซึ่งหลังเด็กอเมริกันประมาณ 1 ปี
(โดยประมาณ ขณะนี้ นักเรียนมหาวิทยาลัย หรืออย่างนักเรียนทุนรัฐบาลไทย ต้องจ่าย ค่าเล่าเรียนและที่อยู่ประมาณ สามถึงสี่หมื่น-น่าจะค่อนไปทางสี่หมื่น เหรียญสหรัฐเป็นอย่างต่ำ - ผู้เรียบเรียง)
ความแตกต่างที่สำคัญอีกอย่างก็คือ ผู้ปกครองฟินน์ปล่อยให้ โรงเรียนจัดการกิจกรรมเรื่องเด็กหมด ในขณะที่พ่อแม่อเมริกัน จะพาเด็กไปส่งโรงเรียนเองบ้าง จัดการกิจกรรมให้ลูกบ้าง เด็กฟินน์มักจะจัดการเรื่องเหล่านี้เองหมด ยกตัวอย่างใน รร แห่งหนึ่งในฟินน์แลนด์ เด็ก ป 1 ต้องย่ำผ่านป่าต้นสนตอนฟ้ายังมืดไปโรงเรียนเอง ตอนเที่ยงเด็กเหล่านี้ไปเอาอาหารซึ่งโรงเรียนจัดหาให้ฟรีเอง และเอาถาดอาหารไปทานเองที่โต๊ะ การใช้ Internet ในห้องสมุดในโรงเรียน ก็ไม่มีการกรอง หรือกัน ( filter) และในห้องเรียน เด็กเหล่านี้สามารถถอดรองเท้าเดินในห้องได้ อย่างไรก็ดี ที่บ้าน พวกเด็กเหล่านี้ต้องรู้จักใส่และผูกรองเท้าสำหรับเสก็ตหรือสกีเองได้
ชาวฟินน์เป็นชนที่มีมาตรฐานของการครองชีพที่สูงที่สุด( highest standards of living ) ประเทศหนึ่งในโลก แม้กระนั้นประเทศนี้ก็เป็นห่วงว่า เขาจะตามหลังชาติอื่น อันเป็นผลเนื่องมาจากการเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจของโลก อันเนื่องมาจากงานของประชากรของประเทศนั้นขึ้นกับ บริษัทอุตสาหกรรมใหญ่ hi-tech, telecommunicationใหญ่ๆ เช่น Nokia รวมทั้งอุตสาหกรรมทางด้านป่าไม้ และเหมืองแร่ ทำให้เริ่มมีนักวิชาการออกความเห็นว่า ฟินน์แลนด์ควรต้องหาทาง ทำให้พวกนักเรียนเก่งๆ ไปได้เร็วแบบเดียวกับที่มีใช้ในสหรัฐ เพื่อผลิตบัณฑืตที่มีความสามารถสูงมากขึ้น ( บทความใช้คำว่า go-getters นึกคำไทยไม่ออก น่าจะเป็น'พวกลุยแหลก' ในที่นี้หมายถึงทางการทำงาน ไม่ใช่ในทางเกเร ) โดยอาศัยโครงการเด็กเก่ง หรือเด็กอัฉริยะ
ขณะเดียวกันผู้ปกครองชาวฟินน์ ก็เริ่มจะกดดันให้โรงเรียนความสำคัญเรื่องการให้ความสนใจเด็กที่เก่งๆ มากขึ้น ผอ โรงเรียนแห่งหนึ่งกล่าว "และพวกเรานักการศึกษาก็ทราบและเข้าใจดีว่า เริ่มมีพ่อแม่แบบสไตล์อเมริกัน" (คือที่ชอบเข้ามายุ่งกับ รร มากขึ้น )
รร ที่กล่าวในบทความนี้เป็นโรงเรียนต้นแบบ หน้าร้อนที่ผ่านมา มีการประชุมกันที่เปรู ผอ รร นี้ได้พูดถึงการเอาวิธีการเรียนการสอนของฟินน์แลนด์ เล่าว่า ในชั่วโมงตอนบ่ายมีการสอนวิชา คณิตศาสตร์ขั้นสูง มีนักเรียนชายคนหนึ่งหลับฟุบบนโต๊ะ ครูก็ไม่ได้ปลุก แต่ก็เรียกคนอื่นให้ตอบ โดยปกติ การหลับในห้องก็ไม่ได้เป็นเรืองที่ทางครูจะสนับสนุน แต่.. ผอ กล่าวว่า "เราก็ต้องรับว่า เด็กก็คือเด็ก และเขาก็ต้องหาทางที่จะต้องอยู่รอด" (they are learning how to live ไม่แน่ใจว่า แปลตรงเป้าหรือเปล่า - ผู้เรียบเรียง )
ตัวอย่างข้อสอบ
วิทยาศาสตร์
การทำแป้งขนมปัง คนทำขนมจะผสมแป้ง น้ำ เกลือ และยีสท์ หลังจากที่ผสมกันแล้ว จะเอาของที่ได้นั้นไปวางใว้หลายชั่วโมง เพื่อให้มีการหมักเกิดขึ้น ระหว่างที่เกิดการหมักนี้ มีการเปลี่ยนแปลงทางเคมี ในแป้งเกิดขึ้น กล่าวคือ เชื้อยีสท์( ซึ่งเป็นราเซลเดียว) จะช่วยในการเปลี่ยนแป้งและน้ำตาลในผงแป้งนี้ ให้เป็นคาร์บอนไดอ๊อกไซด์ และแอลกอร์ฮอล์ การหมักทำให้แป้งพองตัวออก
คำถาม ทำไมแป้งถึงพองตัวออก
1 มันพองออก เพราะมีการผลิตแอลกอร์ฮอล์ซึ่งเปลี่ยนต่อไปเป็นแกส
2 เพราะยีสท์ขยายตัวเพิ่มจำนวนมากขึ้น
3 เพราะมันเกิด คาบอนไดอ๊อกไซด์ขึ้น
4 เพราะการหมักทำให้มีน้ำซึ่งกลายเป็นไอ
คำตอบคือข้อที่ 3
บทความมีแค่นี้
ก็เช่นเคย ใครมีความเห็นอยากจะมีมุมมอง อยากจะเชิญให้เข้ามาร่วมกันถก ...
ขอบคุณบทความดี ๆ ที่มีให้การศึกษาไทย เสมอ ๆ ครับ คุณนิโคลา
ไปถกกับคุณนิโคลาได้ที่นี่ครับ
http://board.obec.go.th/viewtopic.php?p=179311&sid=7f31c5b74a1f3169dc0032f2ce148491#179311
เผื่อใครไม่เคยได้ผ่านเข้าไปบอร์ด สพฐ. เลย ....
เรื่องราวการเรียนธรรมดา ที่ไม่ธรรมดาของคนฟินแลนด์
เรื่องนี้มันดีและคิดว่า สำคัญ ก็เลยเอามาเล่ากันฟัง
บทความนี้ เรียบเรียงจาก เรื่องที่ปรากฎในหนังสือพิมพ์ The Wall Street Journal ( หนังสือพิมพ์ธุรกิจของสหรัฐ) วันที่ 29 กพ 2008.
( ใครสนใจจะอ่าน ฉบับดั้งเดิม ไปดูได้ที่
http://online.wsj.com/article/SB120425355065601997.html?mod=ONLX
"ทำไมเด็กชาวฟินแลนด์ ถึงได้ฉลาด ( หรือจะแปลว่า 'เก่ง') นัก" ( What makes Finnish Kids SO SMART? )
พบว่า นักเรียนวัยสิบห้า จากฟินแลนด์ ทำข้อสอบมาตรฐาน ซึ่งได้ทดสอบกับเด็กจาก 57 ประเทศ ได้คะแนนสูงที่สุด ทั้งๆที่ในบทความกล่าวว่า เด็กนักเรียนในฟินแลนด์มีการบ้านที่ต้องทำนานเกินครึ่งชั่วโมงน้อยมาก ไม่มีการแบ่งห้องเด็กเก่ง หรือไม่เก่ง ไม่แบ่งห้องคิงส์ ไม่มีการข้อสอบวัดมาตรฐาน( standardized testing ) ตามระดับชั้นต่างๆ ไม่มีการจัดว่าใครได้ที่หนึ่งในชั้น ( Valedictorian) และพ่อแม่ผู้ปกครองในฟินแลนด์ก็ไม่ตื่นเต้นเรื่องลูกจะเข้ามหาวิทยาลัย ( จะเล่าภายหลังว่าทำไมเป็นเช่นนั้น)
ในขณะที่นักเรียนอเมริกันซึ่งโดนอัดด้วย การบ้าน การสอบเทียบมาตรฐาน และกฎเกณฆ์ต่างๆ ทำได้แค่ C เท่านั้น ( กล่าวคืออยู่ตรงกลาง ของนักเรียนจาก 57 ประเทศ )
อย่างไรก็ดี เด็กวัยรุ่นฟินแลนด์ ก็เหมือนเด็กอเมริกัน คือ วันๆ ก็เสียเวลาเป็นชั่วโมงกับ Online ย้อมผม ชอบพูดจาแบบย้อน( sarcasm ) ฟังเพลงประเภท rap และ heavy metal เช่นกัน แต่เมื่อมาถึงเรื่อง คณิต วิทย์ และการอ่านแล้ว เด็กฟินแลนด์ไปไกลว่าชาวบ้านหลายๆขุม ความสามารถแบบนี้ จะเป็นสิ่งสำคัญในการที่จะเป็นพลเมืองที่มีคุณภาพที่ดีและมีประสิทธิภาพในการทำงานที่สุดในโลก ( productive workers )
การทดสอบที่ว่านี้ จัดขึ้นโดยองค์กรที่ชื่อ Organization for Economic Cooperation and Development ( OECD). ซึ่งได้รับการช่วยเหลือดูแลจาก 34 ประเทศ เพื่อดูความโน้มน้าว ก้าวหน้า ในเรื่องสังคมและเศรษฐกิจ ยกตัวอย่างในการทดสอบครั้งล่าสุด ได้เน้นเรื่องวิทยาศาสตร์ ซึ่ง เด็กฟินแลนด์ ทำได้ดีที่สุด ส่วนคณิตศาสตร์และการอ่าน ( Math and Reading ) นั้น ได้คะแนนเกือบสูงสุด การสอบทั้งสามวิชาซึ่งจัดทำโดย OECD นี้ เขาเรียกว่า "Program for International Student Assessment" หรือเรียกย่อๆ ว่า PISA โดยทดสอบเด็กจำนวนทั้งสิ้น 4 แสนคน คำถามจะเป็น multiple-choice questions และมีคำถามให้บรรยายเช่นกัน คำถามเป็นให้ คิด ออกความเห็น รวมทั้งเอาความรู้มาใช้ ( critical thinking and application of knowledge ) ยกตัวอย่างว่า ให้ออกความเห็นว่า การเขียนหรือวาดรูป ( graffitti ) บนฝาผนังในที่สาธารณะนั้นมีคุณค่าในทางศิลป์ อย่างไรบ้าง ( Discuss the artistic value of grafitti )
SCIENCE
======
Findlang ===== 563
Hong Kong ====542
Canada ===== 534
Taiwan ======532
Estonia ======531
Japan =======531
New Zealand == 530
Australia =====527
Netherlands ===525
Liechtenstein===522
US =========489
จากผลงานของเด็กฟินแลนด์ นี้ ทำให้นักการศึกษาจาก 50 ประเทศรวมทั้งจากประเทศอเมริกา เข้ามาศึกษาดูว่าเขาทำอย่างไร ( นักการศึกษาไทย หากคิดจะไปเที่ยว บอกได้ว่า ประเทศฟินแลนด์ ไม่มีอะไร น่าเที่ยวเลย เป็นเมืองเก่าๆ และเล็ก บ้านเรามีที่เที่ยวมากกว่าแยะมาก)
พบว่าวิธีการของเขาธรรมดามาก แต่ทำเลียนแบบยาก พบว่า ครูได้รับการฝึกฝนในการสอนอย่างดี และรับผิดชอบต่อเด็กสูง เร่มจากตอนเด็กยังเล็ก จะให้ทำสิ่งต่างๆ โดยที่ผู้ใหญ่( adult ในที่นี้คิดว่า ครูในห้อง -ผู้เรียบเรียง) ไม่ต้องคอยเป็นพี่เลี้ยงตลอดเวลา ครูจะจัดหลักสูตรให้เขากับเด็กที่เขาสอนในห้อง
ผอ โรงเรียนที่จัดทำโครงการสอน ( เข้าใจว่าน่าจะตรงกับบ้านเราคือ รร สาธิต ) กล่าวว่า "เราไม่มีน้ำมัน หรือทรัพยากรที่มีค่าอื่นๆ " แต่ ชาวฟินแลนด์จะมีความรู้ ( KNOWLEDGE )
ที่ รร ที่ว่านี้ คือ Norssi School ในเมือง Jyvaskyla ซึ่งเป็นเมืองที่อยู่ตอนกลางของประเทศ นักการศึกษาหรือผู้เยียมชม สามารถเข้าไปดูการสอนได้ โรงเรียนเป็นโรงเรียนที่ทันสมัย แต่ไม่มีวงดนตรี หรือวงดุริยางค์ ไม่มีทีมกิฬา หรืองานตอนจบการศึกษา ( prom )
ผู้เขียนได้ไปติดตามเด็กหญิงอายุ 15 ปี หนึ่งคน พบว่าหลักสูตรก็ธรรมดา เด็กคนนี้อยู่ชั้น 9 ( ตรงกับ ม 3 ของเรา ) ชอบอ่านหนังสือที่พวกเด็กหญิงอ่าน ชอบดูรายการทีวี และชอบออกไปซื้อเสื้อผ้ากับเพือนในห้างร้าน เด็กคนนี้ สอบได้ A หมด ในบางเวลาก็ใช้เวลาเขียนลงสมุดบันทึกของตนเอง ในขณะที่รอเด็กคนอื่นพยายามเรียนให้ทันตนเอง ในบางครั้งก็จะช่วยเพื่อนในห้องที่ตามคนอื่นไม่ทัน นักการศึกษาของฟินแลนด์เชื่อว่า โดยทางรวมแล้ว การมุ่งไปช่วยคนที่เรียนช้าจะมีผลดีต่อส่วนรวมมากกว่าที่จะพยายามจะไปผลักดันให้เด็กเก่งๆไปเร็ว เพราะคิดว่า เด็กเก่งหรือฉลาดสามารถช่วยคนอื่นได้ โดยที่ไม่ทำให้งานตนเองต้องเสียหรือช้าไป
ตอนเที่ยงเด็กคนนี้ก็สามารถออกไปซื้อขนมนอกโรงเรียนกับเพื่อนได้ แล้วกลับมาเรียนฟิสิคส์ตอนบ่ายได้ ห้องเรียนจะเริ่ม เมื่อทุกคนพร้อม เงียบ ครูและนักเรียนใช้เรียกชื่อโดยใช้ชื่อต้น ( ตะวันตกใช้เรียกโดยนามสกุล นอกจากจะสนิทสนมถึงจะใช้ชื่อต้น) มีกฎที่ใช้ในห้องเรียนอยู่อย่างเดียวคือ ห้ามใช้โทรศัพย์มือถือ ห้ามใช้ iPods และห้ามใส่หมวกในห้อง
เพื่อนๆของเด็กคนนี้บางคนก็ย้อมผมบ้าง บางคนก็ใส่เสื้อแบบ tank top ( เดาว่าน่าจะตรงกับสายเดี่ยวในบ้านเรา-ผู้เรียบเรียง) หรือรองเท้าที่มีหนามแหลมตรงส้น เพื่อให้ดูเหี้ยมในฤดูหนาว บางคนก็ใช้ tanning lotion ( ทาให้ผิวเปลี่ยนเป็นสีเข้ม ) เด็กๆก็แยกตามกลุ่มของแฟชั่นบ้าง ความสนใจหรือความชอบบ้าง เช่น hip-hop หากไปถามเด็กพวกนี้ แบบไม่เข้าท่า ก็จะถูกย้อนกับมาว่า "check it on Google, you idiot" ( ก็ไปค้นใน Googleเสียซิ ไอ้งั่ง ) พวกเด็กวัยรุ่นฟินแลนด์ก็เข้าไปมั่วใน online chat เช่นใน irc-galleria.net
รร Narssi นี้ดำเนินงานเหมือน โรงพยาบาลมหาวิทยาลัย คือ นอกจากรักษาคนใข้แล้ว เขายังสอนแพทย์ประจำบ้าน รร นี้ ก็เช่นกันแต่ละปีจะมีครูมาเข้าฝึกอบรมการสอน ราว 800 คน ผู้เข้าอบรมจะได้รับการประเมินขณะที่ทำการสอนเด็กจากผู้ฝึก ครูผู้เข้ามาฝึกต้องจบ ป โท และ มีผุ้ต้องการเข้ามาฝึกเป็นอันมาก ต้องแข่งกัน เพราะ ทุกๆตำแหน่งที่เปิดรับ จะมีผู้สมัครราว 40 คน เงินเดือนก็สูสีกับทางสหรัฐ แต่ครูที่ฟินแลนด์มีอิสระในการสอนมากกว่า
ครูจะเลือกหนังสือหรือตำราเอง แต่ต้องให้เข้ากับมาตรฐานของชาติ "ในประเทศต่างๆ ครูรู้สึกว่า การศึกษาเหมือนกับโรงงานผลิตรถยนต์ แต่ในฟินแลนด์บรรดาครูคิดว่า เขาเป็นนักเซ็งลี้ ( Entrepreneurs) คือ ผลิดของใช้ที่ดีและเข้ามาตรฐาน
Math
====
Taiwan =====549
Finland =====548
Hong Kong ===547
South Korea===547
Netherlands===531
Switzerland===530
Canada =====527
Macao======525
Liechtenstein==525
Japan=======523
US=========474
สาเหตุอันหนึ่งที่ทำให้เด็กฟินแลนด์ประสพความสำเร็จก็คือการรักการอ่าน พ่อแม่ของเด็กเกิดใหม่จะได้รับของขวัญจากรัฐ รวมทั้งหนังสือที่เป็นรูปสำหรับเด็กด้วย ห้องสมุดบางแห่งอยู่ติดกับมอลล์ใหญ่เลย และจะมีห้องสมุดเคลื่อนที่ได้ ซึ่งจะเดินทางออกไปไกลเพื่อบริการประชาชนด้วย
เนื่องจากฟินแลนด์ไม่ได้ใช้ภาษาร่วมกับประเทศไกล้เคียง และแม้หนังสือที่ดีต่างๆก็จะได้รับการแปลค่อนข้างล่าช้า ฉนั้นเด็กชาวฟินแลนด์ ยกตัวอย่างจะพยายามดิ้นรน ขวนขวายพยายาม อ่านฉบับภาษาอังกฤษว่า Harry Potter จบด้วยอย่างไร เพราะกลัวว่า จะรู้เรื่องตอนจบ ก่อนฉบับภาษาฟินแลนด์จะออกตีพิมพ์ ภาพยนต์หรือทีวี จะมีคำบรรยาย แต่จะไม่มีแปลหรือพากษ์ ผลทำให้นักศึกษามหาวิทยาลัยคนหนึ่งบอกว่า ทำให้เขาอ่านได้เร็วมากตั้งแต่เด็กเลยเพราะชอบดูรายการทีวีเรื่องหนึ่งที่มีแต่คำบรรยาย
เมื่อเดือนตุลาคมที่แล้ว นักการศึกษาจากสหรัฐเดินทางไปเพื่อศึกษาว่า ทางฟินแลนด์ใช้เทคโนโลยีในการสอนอย่างไร พบว่า ครูที่นั่นใช้แค่กระดานและชอล์คเท่านั้น ไม่ได้ใช้อะไรที่ทันสมัย บทเรียนก็ใช้ส่องจากหน้าสมุดหรือหนังสือ ขึ้นบนจอ ไม่ได้ใช้ powerpoint หรืออะไรทั้งสิ้น ผู้ที่ไปศึกษาทึ่งในวิธีการสอน มากกว่าการใช้เทคโนโลยี ( เขาไม่ได้ใช้เลย) ก็เลยงงว่า "แล้วจะเอาไปใช้ทีอเมริกาอย่างไร"
มีนักเรียนชาวฟินแลนด์คนหนี่งเห็นความแตกต่างของระบบการเรียนการสอน ระหว่างของฟินแลนด์กับอเมริกาเป็นอย่างดีเลย เพราะเด็กคนนี้ได้ทุนเป็นนักเรียนแลกเปลี่ยน ไปเรียนที่แถว Michigan ซึ่งพบว่าที่ รร นี้มีกฎเข้มงวด แต่ไม่ได้ออกมาว่า รร จะมีหลักสูตรที่กระดูกหรือหิน หรือมีนักเรียนที่เข้มหรือเก่งเลย เมื่อเขาถามนักเรียนอเมริกันว่า "ทำการบ้านหรือเปล่า เมื่อคืนนี้" ก็ได้คำตอบวา "ไม่ได้ทำหรอก แล้วเธอละทำอะไร เมื่อคืนนี้" นักเรียนชาวฟินแลนด์เล่าถึงความจำที่เคยเจอมาให้ฟัง ที่ รร นี้ คำถามของบทเรียนประวัติศาสตร์มักเป็นแบบปรนัย ดังนั้นจึงไม่มีโอกาสได้เขียนหรือบรรยาย ดังนั้นเมือเด็กฟินน์คนนี้กลับไป ทางรรจึงให้ซ้ำชั้น ม 6 อีกครั้ง
READING
======
Korea =====556
Finland=====547
Hong Kong===536
Canada=====527
New Zealand==521
Ireland======517
Australia=====513
Leichtenstein==510
Poland======508
Sweden=====507
US ไม่มีข้อมูล
ดูเหมือนว่าวิธีการสอนของฟินแลนด์จะง่าย แต่...นักวิชาการอเมริกันคิดว่าจะเอาไปใช้ในอเมริกาคงยาก เพราะในฟินแลนด์นั้นประชากรเป็นชนเชื้อชาติเดียวกันมีนักเรียนที่ไม่ใช้ภาษาฟินน์เป็นภาษาแม่น้อยมาก ในสหรัฐ 8 เปอร์เซ็นต์ของนักเรียนที่ไม่ใช้ภาษาอังกฤษเป็นภาษาแม่ ( จากสถิติของกระทรวงศึกษาสหรัฐ) ยิ่งกว่านั้น ความแตกต่างในระดับการศึกษาและรายได้ของประชากรของฟินแลนด์ก็น้อย ประเทศฟินน์แลนด์จะแยกเด็กออก ในช่วงสามปีสุดท้ายของระดับมัธยมโดยอาศัยคะแนน กล่าวคือ 53 % ของนักเรียนไปเรียนต่อจนจบ ม 6 ส่วนที่เหลือไปเรียนวิชาชีพ ( นักเรียนอายุ 15 ปีทุกคน ต้องสอบ PISA ) ประเทศฟินน์แลนด์มีอัตราที่เด็กนักเรียนไม่เรียน (drop out-ออกจาก รร ) ประมาณ 4 % ใน รร มัธยม และ10 % ในโรงเรียนวิชาชีพ ซึ่งในสหรัฐมีถึง 25 %
ความแตกต่างอีกอย่างคืองบประมาณที่ใช้ในการศึกษา ในสหรัฐ ใช้เงินประมาณ $8700 ต่อนักเรียนหนึ่งคน แต่ของฟินน์แลนด์ใช้เพียง $7500 ต่อคน ซึ่งอาศัยเงินจากภาษีที่เก็บในอัตราที่สูงมาก ดังนั้นทุกโรงเรียนในฟินน์แลนด์จึงได้งบจากรัฐบาลเท่ากัน ในขณะที่ในสหรัฐนั้น ขึ้นกับภาษีท้องถิ่นและรัฐ ที่ใหนมีฐานะดี ภาษี ( คล้าย VAT บ้านเรา)เข้ามามาก โรงเรียนก็ได้เงินสนับสนุนจากท้องถิ่นแยะ ที่ใหนจน สภาพโรงเรียนก็แปรตามไปเช่นกัน ดังนั้น ความแตกต่างของคุณภาพของโรงเรียนในถิ่นต่างๆ ในฟินน์แลนด์นั้นน้อย โดยดูจาก PISA ในขณะทีผลที่ได้ของสหรัฐนั้นออกมาระดับกลางเท่านั้น ( แม้จะค่าถัวเฉลี่ยจะจ่ายให้นักเรียนต่อคน จะสูงกว่า)
อีกประการนักเรียนของฟินน์แลนด์มีความห่วงเรื่องเข้าเรียนต่อในมหาวิทยาลัยที่ดีที่สุด หรือเรื่องค่าใช้จ่ายน้อย เพราะค่าเล่าเรียนระดับมหาวิทยาลัยนั้น "ฟรี" ส่วนเรื่องการเลือกมหาวิทยาลัยดีเด่นนั้น เขาก็มีที่ดี แต่ไม่เด่นมากอย่างเช่นอย่างมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ดในสหรัฐ เมื่อไม่มีความกดดันเรื่องการเข้าเรียนหรือห่วงเรื่องค่าใช้จ่าย ทำให้นักเรียนเรียนอย่างสบาย ไม่มีความกดดัน ในขณะที่ในสหรัฐนั้น พ่อแม่ผู้ปกครองเริ่มห่วงเรื่องจะหาที่เข้าเรียน ตั้งแต่ระดับ รร อนุบาล ส่วนนักเรียนในฟินน์แลนด์เริ่มเข้าเรียนตั้งแต่อายุ 7 ขวบ ซึ่งหลังเด็กอเมริกันประมาณ 1 ปี
(โดยประมาณ ขณะนี้ นักเรียนมหาวิทยาลัย หรืออย่างนักเรียนทุนรัฐบาลไทย ต้องจ่าย ค่าเล่าเรียนและที่อยู่ประมาณ สามถึงสี่หมื่น-น่าจะค่อนไปทางสี่หมื่น เหรียญสหรัฐเป็นอย่างต่ำ - ผู้เรียบเรียง)
ความแตกต่างที่สำคัญอีกอย่างก็คือ ผู้ปกครองฟินน์ปล่อยให้ โรงเรียนจัดการกิจกรรมเรื่องเด็กหมด ในขณะที่พ่อแม่อเมริกัน จะพาเด็กไปส่งโรงเรียนเองบ้าง จัดการกิจกรรมให้ลูกบ้าง เด็กฟินน์มักจะจัดการเรื่องเหล่านี้เองหมด ยกตัวอย่างใน รร แห่งหนึ่งในฟินน์แลนด์ เด็ก ป 1 ต้องย่ำผ่านป่าต้นสนตอนฟ้ายังมืดไปโรงเรียนเอง ตอนเที่ยงเด็กเหล่านี้ไปเอาอาหารซึ่งโรงเรียนจัดหาให้ฟรีเอง และเอาถาดอาหารไปทานเองที่โต๊ะ การใช้ Internet ในห้องสมุดในโรงเรียน ก็ไม่มีการกรอง หรือกัน ( filter) และในห้องเรียน เด็กเหล่านี้สามารถถอดรองเท้าเดินในห้องได้ อย่างไรก็ดี ที่บ้าน พวกเด็กเหล่านี้ต้องรู้จักใส่และผูกรองเท้าสำหรับเสก็ตหรือสกีเองได้
ชาวฟินน์เป็นชนที่มีมาตรฐานของการครองชีพที่สูงที่สุด( highest standards of living ) ประเทศหนึ่งในโลก แม้กระนั้นประเทศนี้ก็เป็นห่วงว่า เขาจะตามหลังชาติอื่น อันเป็นผลเนื่องมาจากการเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจของโลก อันเนื่องมาจากงานของประชากรของประเทศนั้นขึ้นกับ บริษัทอุตสาหกรรมใหญ่ hi-tech, telecommunicationใหญ่ๆ เช่น Nokia รวมทั้งอุตสาหกรรมทางด้านป่าไม้ และเหมืองแร่ ทำให้เริ่มมีนักวิชาการออกความเห็นว่า ฟินน์แลนด์ควรต้องหาทาง ทำให้พวกนักเรียนเก่งๆ ไปได้เร็วแบบเดียวกับที่มีใช้ในสหรัฐ เพื่อผลิตบัณฑืตที่มีความสามารถสูงมากขึ้น ( บทความใช้คำว่า go-getters นึกคำไทยไม่ออก น่าจะเป็น'พวกลุยแหลก' ในที่นี้หมายถึงทางการทำงาน ไม่ใช่ในทางเกเร ) โดยอาศัยโครงการเด็กเก่ง หรือเด็กอัฉริยะ
ขณะเดียวกันผู้ปกครองชาวฟินน์ ก็เริ่มจะกดดันให้โรงเรียนความสำคัญเรื่องการให้ความสนใจเด็กที่เก่งๆ มากขึ้น ผอ โรงเรียนแห่งหนึ่งกล่าว "และพวกเรานักการศึกษาก็ทราบและเข้าใจดีว่า เริ่มมีพ่อแม่แบบสไตล์อเมริกัน" (คือที่ชอบเข้ามายุ่งกับ รร มากขึ้น )
รร ที่กล่าวในบทความนี้เป็นโรงเรียนต้นแบบ หน้าร้อนที่ผ่านมา มีการประชุมกันที่เปรู ผอ รร นี้ได้พูดถึงการเอาวิธีการเรียนการสอนของฟินน์แลนด์ เล่าว่า ในชั่วโมงตอนบ่ายมีการสอนวิชา คณิตศาสตร์ขั้นสูง มีนักเรียนชายคนหนึ่งหลับฟุบบนโต๊ะ ครูก็ไม่ได้ปลุก แต่ก็เรียกคนอื่นให้ตอบ โดยปกติ การหลับในห้องก็ไม่ได้เป็นเรืองที่ทางครูจะสนับสนุน แต่.. ผอ กล่าวว่า "เราก็ต้องรับว่า เด็กก็คือเด็ก และเขาก็ต้องหาทางที่จะต้องอยู่รอด" (they are learning how to live ไม่แน่ใจว่า แปลตรงเป้าหรือเปล่า - ผู้เรียบเรียง )
ตัวอย่างข้อสอบ
วิทยาศาสตร์
การทำแป้งขนมปัง คนทำขนมจะผสมแป้ง น้ำ เกลือ และยีสท์ หลังจากที่ผสมกันแล้ว จะเอาของที่ได้นั้นไปวางใว้หลายชั่วโมง เพื่อให้มีการหมักเกิดขึ้น ระหว่างที่เกิดการหมักนี้ มีการเปลี่ยนแปลงทางเคมี ในแป้งเกิดขึ้น กล่าวคือ เชื้อยีสท์( ซึ่งเป็นราเซลเดียว) จะช่วยในการเปลี่ยนแป้งและน้ำตาลในผงแป้งนี้ ให้เป็นคาร์บอนไดอ๊อกไซด์ และแอลกอร์ฮอล์ การหมักทำให้แป้งพองตัวออก
คำถาม ทำไมแป้งถึงพองตัวออก
1 มันพองออก เพราะมีการผลิตแอลกอร์ฮอล์ซึ่งเปลี่ยนต่อไปเป็นแกส
2 เพราะยีสท์ขยายตัวเพิ่มจำนวนมากขึ้น
3 เพราะมันเกิด คาบอนไดอ๊อกไซด์ขึ้น
4 เพราะการหมักทำให้มีน้ำซึ่งกลายเป็นไอ
คำตอบคือข้อที่ 3
บทความมีแค่นี้
ก็เช่นเคย ใครมีความเห็นอยากจะมีมุมมอง อยากจะเชิญให้เข้ามาร่วมกันถก ...
ขอบคุณบทความดี ๆ ที่มีให้การศึกษาไทย เสมอ ๆ ครับ คุณนิโคลา
ไปถกกับคุณนิโคลาได้ที่นี่ครับ
http://board.obec.go.th/viewtopic.php?p=179311&sid=7f31c5b74a1f3169dc0032f2ce148491#179311
ความคิดเห็น