No ip No problem

ประโยชน์จากการท่องเน็ต ทำให้เราได้มีประสบการณ์ใหม่ ๆ เสมอ ๆ วันนี้มาทดลองทำอะไรเล่นสนุก ๆ กันครับ...
หลายคนคงรู้จัก no-ip ไปแล้วแต่หลายคนยังไม่รู้จัก.... ไม่เป็นไรเดี๋ยวผมจะค่อย ๆ เล่าให้ฟังครับ

no-ip เป็นบริการ dynamic ip อิสระให้แก่สมาชิก
ก่อนที่เราจะมาทำความรู้จักกับ dynamic ip อีกคำที่ต้องรู้คือ static ip ...
ครับ ชื่อของมันก็บอกอยู่แล้ว ว่าเป็น ip แบบคงที่ ว่ากันเรื่อง ip นี่คงยาว แต่ผมขอสรุปสั้น ๆ เลยละกันว่าไอ้เจ้า static ip เอาไปใช้ในการสร้าง host หรือ website ครับ นั่นคือ ใครที่อยากได้ หรืออยากทำ host เอง จะต้องมี static ip
เพื่อใช้ในการอ้างอิงตำแหน่งบนเว็ปไซต์ พูดแล้วอาจมีงง สรุปสั้น ๆ เลยว่าใครไม่มี static ip ก็ตั้งเว็ปไซต์ไม่ได้...ว่างั้นดีกว่านะ
คนธรรมดาอย่างเรา ๆ หากอยากได้ static ip ก็ไปคุยกับองค์การโทรศัพท์ เขาจะแจ้งให้เราทราบว่าตำแหน่งหรือสถานที่ที่เราอยู่มีบริการ static ip หรือเปล่า หรือหากอยู่บ้านนอก อีกบริการหนึ่งก็คือ ip-star ซึ่งก็มีบริการ static ip เช่นเดียวกัน สรุปแล้ว ทำเลที่ตั้งไม่เกี่ยวครับ อยู่ที่ไหนก็มี static ip ได้ อ่า ฮ้า เจ๋ง งั้นตั้งโฮสต์ ตั้งเว็ปเลยดีกว่า... ช้าก่อนครับ ผมยังพูดไม่จบ ค่าใช้จ่ายสำหรับ static ip ผมยังไม่ได้พูดถึงเลย แต่ขอบอกไว้เลยว่า ค่อนข้างแพง สำหรับเรา ๆ ลูกนกลูกกาตาดำ ๆ หาเช้า กินกลางวัน เย็น ๆ อด 5555555555555555 สรุปอีกทีว่าเรื่อง static ip เลยขอผ่านครับ

ว่ากันด้วยเรื่อง dynamic ip

dynamic ip เป็น ip เทียม ซึ่งเปลี่ยนแปลงค่าไปเรื่อย ๆ ไม่คงที่ คุณอาจสงสัยว่าในเมื่อมันอิงตำแหน่ง ip ไปเรื่อย ๆ แล้วเราจะใช้ประโยชน์จาก dynamic ip ได้หรือ? คำตอบคือ ได้ครับ แต่ต้องอาศัยโปรแกรมของผู้ให้บริการคอยช่วยทำการ map ค่า ip เข้ากับ โฮสต์ ให้เลย เพื่อให้เห็นภาพผมขอยกตัวอย่าง no-ip.com ก็แล้วกันครับ มาดูกันเลย

๑.เริ่มจากไปที่ www.no-ip.com ทำการลงทะเบียนกับเขาโดยคลิกที่ Sign-up Now!
๒.กรอกรายละเอียดต่าง ๆ ให้เรียบร้อย คิดว่าคงไม่มีปัญหาในการกรอกข้อมูลนะครับ
๓. เมื่อทำการสมัครและลงทะเบียนเรียบร้อยแล้ว ให้ทำการล็อกอินเข้าไป มีสิ่งที่ต้องทำเพียงแค่อย่างดีเท่านั้นครับ คือการเพิ่มโฮสต์เป็นชื่อของเราครับ โดยคลิกที่ Add กรอกรายละเอียดชื่อโฮสต์ที่ต้องการในช่อง Hostname: ในภาพผมใส่ krupong ด้านล่างให้เลือกโดเมนที่ต้องการ ซึ่งทางเว็ปได้เปิดให้บริการเยอะมาก แต่ผมขอเลือก no-ip.org นี่แหละ รายละเอียดปลีกย่อยอื่น ๆ คงไม่ต้องแล้วครับ ดูจากภาพตามนี้เลย
๔.กรอกรายละเอียดเรียบร้อยแล้วคลิก Create Host ที่บริเวณด้านล่าง
๕.ระบบจะแจ้ง ip ที่เราได้ (ซึ่งจะเปลี่ยนแปลงค่าทุกครั้งที่เปิดโปรแกรม)

๖. เสร็จสิ้นกระบวนการตั้งค่าโฮสต์จากนี้ไปก็เพียงไปดาวน์โหลดโปรแกรมมาติดตั้งที่เครื่องของเรา โดยคลิกที่ Download จากนั้นเลือกโหลดโปรแกรมที่ต้องการนำมาใช้ ว่าเครื่องของคุณเป็น Windows , Mac หรือ Linux ตัวอย่างนี้ผมจะโหลด Linux ครับ
๗. เมื่อโหลดโปรแกรมมาแล้วให้เรียกติดตั้งใช้งาน โดยโปรแกรมจะถามเราว่า โฮสต์ที่เราลงทะเบียนไว้กับทาง no-ip.com คืออะไร นอกจากนี้ยังรวมไปถึงว่าให้ระบบอัปเดต ip ในความถี่เท่าใด (ค่ามาตรฐานคือ ๓๐ นาที) และค่าอื่น ๆ ซึ่งค่าเหล่านี้คุณทำแค่ครั้งเดียว เมื่อเริ่มใช้งานโปรแกรมเท่านั้น คราวหลังระบบจะไม่ถามอีก
๘. ใครใช้ router อยู่ ให้ตั้งค่า Port forwarding ด้วย โดยส่วนใหญ่จะอยู่ที่ Advanced -> Port forwarding เราต้องกำหนดว่าจะใช้กับ Lan ip ตัวใด ซึ่งในภาพ ip เครื่องผมคือ 192.168.1.7 ที่ช่อง Category คลิกที่ Servers จะพบว่ามีรายการ web Server อยู่ ให้คลิก Add > จะได้ Web Server ไปอยู่ด้านขวา เรียบร้อยแล้วก็คลิกที่ Aply แค่นี้ก็เรียบร้อย
หลังจากนี้ไปก็เพียงแต่ติดตั้ง web server ลงไปในเครื่อง ซึ่งหากคุณใช้ระบบปฏิบัติการ Windows วิธีการง่ายที่สุดคือใช้ AppServ แต่หากคุณใช้ระบบปฏิบัติการ Linux ผมเชื่อว่าถึงขั้นตอนนี้แล้วคุณไปต่อเองได้

ข้อสังเกต... การทดสอบว่าค่าที่เราตั้งนั้นใช้ได้หรือไม่ ไม่สามารถทำได้ที่เครื่องของเรา ให้ใช้เครื่องอื่น และใช้เครือข่ายอื่น ที่ไม่ใช่เครือข่ายเดียวกัน

ที่ยกตัวอย่างมานี้เป็นของฝรั่งที่เขานิยมใช้กันนะครับ สำหรับของคนไทย ส่วนใหญ่ใช้บริการของ thaiddns.com
ลอง ๆ เล่นกันดูครับ...

ทดสอบเครื่องครูป๋อง http://krupong.no-ip.org/index.html

ความคิดเห็น