หัดเขียนโปรแกรมโดยใช้ Air ตอนที่ 3

เขียนให้ บอร์ด OpenSource สพฐ. หากต้องการติดตาม ซีรี่ชุดนี้แบบเต็ม ก็ไปที่นี่

http://board2.obec.go.th/viewtopic.php?f=10&p=179555


ตอนที่ 3 ติดตั้งเครื่องมือพัฒนา

เอาหละคิดว่าวันนี้คงไปดาวน์โหลดโปรแกรมมาได้เรียบร้อยแล้ว เราจะเริ่มติดตั้งโปรแกรมกันตามลำดับเลย
1. ติดตั้ง Air runtime เมื่อตอนที่ 1 ผมดาวน์โหลดตัว runtime มาไว้ที่ /data/MyServer/AdobeOpensouce นะครับ ดังนั้นผมก็ใช้คำสั่งสำหรับเข้าไปยังไดเร็กทอรี่ข้างต้นก่อน
cd /data/MyServer/AdobeOpensouce
จากนั้นกำหนดให้ไฟล์ .bin สามารถเรียกใช้ได้
chmod +x *.bin

เริ่มกระบวนการติดตั้ง โดยใช้คำสั่ง
sudo ./adobeair_linux_a1_033108.bin

ระบบ จะให้ใส่รหัสผ่านของ root และเริ่มกระบวนการติดตั้ง ให้ทำตามขั้นตอนจนเรียบร้อย ขั้นตอนนี้ผมขอผ่านนะครับ เพราะไม่มีอะไรเป็นพิเศษ

2. เตรียม SDK สำหรับการเตรียม SDK ก็ไม่มีอะไรมากครับ เพียงแค่แตกไฟล์ SDK ที่เราดาวน์โหลดมาก็เพียงแค่นั้น ใช้คำสั่ง
สร้างไดเร็กทอรี่ ด้วยคำสั่ง mkdir
mkdir adobeair_linux_sdk_a1_033108
เข้าไปยังไดเร็กทอรี่ที่ได้สร้างไว้
cd adobeair_linux_sdk_a1_033108

สร้างแตกไฟล์ ด้วยคำสั่ง tar
tar -xvjf ../adobeair_linux_sdk_a1_033108.bz2

เสร็จสิ้นกระบวนการเตรียม SDK

3. ติดตั้ง Aptana Studio ขอบคุณ aka.ape ที่ได้ทดสอบว่าต้องลง java-sun ด้วย Aptana Studio จึงจะสมบูรณ์ มาเริ่มติดตั้งกันเลย
เปิด terminal ขึ้นมา สำหรับ Aptana Studio ผมดาวน์โหลดมาไว้ที่ /data/aptana
ก็ไปยังไดเร็กทอรี่กันเลย สั่ง
cd /data/aptana
การติดตั้งไม่ยุ่งยากครับ เพียงแค่แตกไฟล์ก็ใช้ได้เลย ใช้คำสั่ง
tar -xvjf *.bz2
จากนั้นทดสอบเรียกใช้งาน Aptana Studio ด้วยคำสั่ง
./AptanaStudio
คุณจะพบหน้าจอต้อนรับ ประมาณนี้
Image

ตอนต่อไป เราจะทำการคอนฟิก ให้ Aptana รู้จักและสร้าง Air application ให้เราได้อย่างง่ายดายครับ

ความคิดเห็น